Category

กฎข้อบังคับน่ารู้ ปฏิบัติตัวอย่างไร? ให้ปลอดภัยจากการทำงานบนที่สูง

อุบัติเหตุจากการทำงานบนที่สูง สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ เนื่องจากการทำงานบนที่สูงมีความเสี่ยงและอันตรายจากการพลัดตกลงมาได้ ไม่ว่าจะเป็น การทำงานก่อสร้าง งานบนเสาไฟฟ้า งานเช็ดกระจกบนตึกสูง และงานวางระบบบนหลังคาของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ การทำงานบนที่สูงตามกฏกระทรวงปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ยังหมายถึง การทำงานบนพื้นที่ต่างระดับตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป และยังรวมถึงงานบนนั่งร้าน หรือโครงสร้างอาคารชั่วคราวที่สูงจากพื้นดิน ดังนั้นการปฏิบัติงานบนที่สูง ผู้ปฏิบัติงานและนายจ้างต้องปฏิบัติตามกฏข้อบังคับ พร้อมเรียนรู้หลักการทำงานบนที่สูงให้เข้าใจก่อนเริ่มปฏิบัติงานจริง เพื่อความปลอดภัยต่อตนเอง ผู้อื่น และทรัพทย์สิน

อัปเดตกฎกระทรวงการทำงานบนที่สูง พ.ศ. ๒๕๖๔

กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมของการทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง และที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้

“ทำงานในที่สูง” หมายความว่า การทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงานที่สูงจากพื้นดิน หรือจากพื้นอาคาร ตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป ซึ่งลูกจ้างอาจพลัดตกลงมาได้        

“นั่งร้าน” หมายความว่า โครงสร้างชั่วคราวที่สูงจากพื้นดินหรือจากพื้นอาคาร หรือส่วนของ สิ่งก่อสร้าง สำหรับเป็นที่รองรับ ลูกจ้าง วัสดุ หรือเครื่องมือและอุปกรณ์

“อาคาร” หมายความว่า อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

หมวด ๑ บททั่วไป

ข้อ ๒ นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย ในการทำงานในที่สูง ที่ลาดชัน ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่นหรือพังทลายของวัสดุสิ่งของ และที่อาจทำให้ ลูกจ้างพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย การระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน การวางแผนการปฏิบัติงาน และการป้องกันและควบคุมอันตราย รวมทั้งต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างได้รับทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ ๓ ในการประกอบ การติดตั้ง การตรวจสอบ และการใช้ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูง และที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็นตกหล่นหรือฟังทลาย และจากการตกลงไป ในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ให้นายจ้างปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ หากไม่มีรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานดังกล่าว นายจ้างต้องดำเนินการ ให้วิศวกรซึ่งได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานขึ้นเป็นหนังสือและต้องมีสำเนาเอกสาร ดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้   

ข้อ ๕ นายจ้างต้องจัดให้มีการบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายตามข้อ ๓ และอุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามข้อ ๔ ตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด และจัดให้มีการตรวจสอบ สภาพของอุปกรณ์ให้มีความปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้ง และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ ๖ ในกรณีที่นายจ้างต้องจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก ราวกั้นหรือรั้วกันตกต้องมีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร แต่ไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตร ซึ่งมีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ใช้แผงทึบแทนราวกั้นหรือรั้วกันตก แผงทึบต้องมีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร

ข้อ ๗ สำเนาเอกสารตามข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๕ จะอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

หมวด การป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน

ข้อ ๘ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูง นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้าน หรือดำเนินการด้วยวิธีการอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้าง โดยต้องมีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย

ข้อ ๙ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงตั้งแต่สี่เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดทำ ราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่ายนิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการใช้ เข็มขัดนิรภัย และ เชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต พร้อมอุปกรณ์ตลอดระยะเวลาการทำงาน

ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีปล่องหรือช่องเปิดต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างพลัดตก นายจ้าง ต้องจัดทำฝาปิดที่แข็งแรง ราวกั้น รั้วกันตกหรือแผงทึบตามข้อ ๖ พร้อมทั้งติดป้ายเตือนอันตราย ให้เห็นได้อย่างชัดเจน

ข้อ ๑๑ นายจ้างต้องมิให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงนอกอาคารหรือพื้นที่เปิดโล่ง ในขณะที่มีพายุ ลมแรง ฝนตกหรือฟ้าคะนอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย หรือบรรเทาเหตุอันตรายที่เกิดขึ้น โดยต้องจัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้าง

ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ลูกจ้างต้องใช้บันไดไต่ชนิดเคลื่อนย้ายได้เพื่อทำงานในที่สูง นายจ้าง ต้องดูแลการตั้งบันไดให้ระยะระหว่างฐานบันได ถึงผนังที่วางพาดบันไดกับความยาวของช่วงบันได นับจากฐานถึงจุดพาดมีอัตราส่วนหนึ่งต่อสี่ หรือมีมุมบันไดที่ตรงข้ามผนังเจ็ดสิบห้าองศา

บันไดไต่ ตามวรรคหนึ่งจะต้องมีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรง และปลอดภัยต่อการใช้งาน มีความกว้างของบันไดไม่น้อยกว่าสามสิบเซนติเมตร ทั้งนี้ บันไดไต่ต้องมีขาบันไดหรือสิ่งยึดโยง ที่สามารถป้องกันการลื่นไถลของบันไดได้

ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ลูกจ้างต้องใช้บันไดไต่ชนิดติดตรึงกับที่ที่มีความสูงเกินหกเมตรขึ้นไป เพื่อทำงานในที่สูง นายจ้างต้องดูแลบันไดไต่ชนิดติดตรึงกับที่ให้มีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรง และปลอดภัยต่อการใช้งานและต้องจัดทำโกร่งบันได เพื่อป้องกันการพลัดตกของลูกจ้าง

ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ลูกจ้างต้องใช้ขาหยั่งหรือม้ายืนเพื่อทำงานในที่สูง นายจ้างต้องดูแล ให้ขาหยั่งหรือม้ายืนนั้นมีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรงและปลอดภัยต่อการใช้งาน และมีพื้นที่สำหรับ ยืนทำงานอย่างเพียงพอ

ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีการทำงานบนที่ลาดชันที่ทำมุมเกินสิบห้าองศาแต่ไม่เกินสามสิบองศา จากแนวราบ และมีความสูงของพื้นระดับที่เอียงนั้น ตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้าน ที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน หรือเข็มขัดนิรภัย และเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต พร้อมอุปกรณ์หรือมาตรการป้องกันการพลัดตกอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน

ในกรณีที่มีการทำงานบนที่ลาดชันที่ทำมุมเกินกว่าสามสิบองศาจากแนวราบ และมีความสูง ของพื้นระดับที่เอียงนั้นตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพของ การทำงาน หรือมาตรการป้องกันการพลัดตกอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน และเข็มขัดนิรภัย และเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตพร้อมอุปกรณ์ 

หมวด ๓ การป้องกันอันตรายจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย

ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีการลำเลียงวัสดุสิ่งของขึ้นหรือลงจากที่สูง หรือลำเลียงวัสดุสิ่งของบนที่สูง นายจ้างต้องจัด ให้มีราง ปล่อง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมในการลำเลียง เพื่อป้องกัน อันตรายจากวัสดุสิ่งของกระเด็นหรือตกหล่น

ข้อ ๑๗ นายจ้างต้องกำหนดเขตอันตรายในบริเวณพื้นที่ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของและติดป้ายเตือนอันตรายบริเวณพื้นที่ดังกล่าว พร้อมทั้งจัดให้มี มาตรการควบคุมดูแลเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจนกว่างานจะแล้วเสร็จ

ข้อ ๑๘ ในกรณีที่มีวัสดุสิ่งของอยู่บนที่สูงที่อาจกระเด็น ตกหล่น หรือฟังทลายลงมาได้ นายจ้างต้องจัดทำขอบกันของตกหรือมาตรการป้องกันอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน

ข้อ ๑๙ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานบริเวณใกล้เคียงหรือทำงานในสถานที่ที่อาจมี การกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของนายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมดูแลเพื่อให้เกิด ความปลอดภัยแก่ลูกจ้างตลอดระยะเวลาการทำงาน

ข้อ ๒๐ ในบริเวณที่เก็บหรือกองวัสดุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายจากการตกหล่น หรือ พังทลายของวัสดุสิ่งของดังกล่าวให้นายจ้างจัดเรียงวัสดุสิ่งของให้เกิดความมั่นคงปลอดภัย ทำผนังกั้น หรือใช้วิธีการอื่นใด เพื่อป้องกันอันตรายจากการตกหล่นหรือพังทลายของวัสดุสิ่งของนั้น

ในกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตราย จากการตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของที่จะทำการเคลื่อนย้ายนั้นด้วย

หมวด ๔ การป้องกันอันตรายจากการตกลงไปในภาชนะเก็บ หรือรองรับวัสดุ

ข้อ ๒๒ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในบริเวณหรือสถานที่ใด หรือลักษณะของการทำงานอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตราย จากการพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ เช่น ถัง บ่อ กรวย ภาชนะหรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันที่ลูกจ้างอาจพลัดตกลงไปได้นายจ้างต้องจัดให้มีสิ่งปิดกั้น ที่มั่นคงแข็งแรง จัดทำราวกันหรือรั้วกันตกที่มั่นคงแข็งแรงล้อมรอบภาชนะนั้น เพื่อป้องกันการพลัดตกลงไปของลูกจ้าง

ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้าง สวมใส่เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย หรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงาน

ข้อ ๒๓ นายจ้างต้องมิให้ลูกจ้างทำงานบนภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ เช่น ถัง บ่อ กรวย ภาชนะหรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันที่ลูกจ้างอาจพลัดตกลงไปได้ เว้นแต่นายจ้างได้จัดให้มีสิ่งปิดกั้น จัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก หรือสิ่งป้องกันอื่นใดที่มั่นคงแข็งแรงเหมาะสมกับสภาพของการทำงาน หรือจัดให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงาน หากนายจ้าง ให้ลูกจ้างทำงานในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ต้องให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและ เชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงานด้วย

ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานบนภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุที่มีความสูงตั้งแต่สี่เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มี สิ่งปิดกั้นจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก หรือสิ่งป้องกันอื่นใดที่มั่นคง แข็งแรงเหมาะสมกับสภาพของการทำงาน และต้องให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย หรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงานด้วย

กฏระเบียบน่ารู้ของการทำงานบนที่สูง

  • ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการฝึกอบรมการทำงานบนที่สูงก่อนเริ่มปฏิบัติงานจริง
  • ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่เครื่องแต่งกายให้รัดกุม เรียบร้อย ถูกต้อง ตามมาตรฐานการทำงานบนที่สูง
  • ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ขณะทำงานอยู่ตลอดเวลา อาทิ เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว (Full body harness), รอกนิรภัย, สายช่วยชีวิต (Lanyard, SRL), หมวกนิรภัย และรองเท้านิรภัย เป็นต้น
  • เลือกจุดยึดที่แข็งแรงและสามารถรองรับแรงกระแทก เมื่อเกิดอุบัติเหตุได้
  • เตรียมแผนการช่วยเหลือ และอุปกรณ์ช่วยเหลือเอาไว้ พร้อมตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์นำมาใช้งานทุกครั้ง
  • ห้ามโยนสิ่งของ หรือเครื่องมือให้กับผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานอยู่บนที่สูง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งของที่อาจจะตกกระแทกโดนผู้อื่นได้
  • ห้ามทำงานบนที่สูงเพียงคนเดียว ต้องมีการปฏิบัติงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป
  • หากต้องปฏิบัติงานบนหลังคากระเบื้อง ห้ามเหยียบหรือเดินบนแผ่นกระเบื้องโดยตรง
  • การตัด หรือการเชื่อมบนที่สูง ต้องมีการตรวจสอบและเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงและสารไวไฟทุกชนิดก่อนนำมาใช้งานบนที่สูง รวมถึงขณะปฎิบัติงานก็ต้องทำอย่างระมัดระวังด้วยเช่นกัน

ดูรายละเอียดสินค้าหมวด เซฟตี้บุคคล (Safety System) เพิ่มเติม >> https://planet.co.th/safety-system/

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: บริษัท แพลนเนท ที แอนด์ เอส จำกัด ตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์ เซฟตี้บุคคล ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล พร้อมยินดีให้คำปรึกษา/แนะนำก่อนการซื้อ และบริการดูแลหลังการขายจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

Call Center: 02-720-3288

Line: @planettands

E-mail: info@planet.co.th

Facebook: https://www.facebook.com/planettands

อ้างอิงข้อมูลจาก: สสปท. (กระทรวงแรงงาน)

Our Technology News

Technology News

หุ่นยนต์บริการ Reeman เปลี่ยนการทำงานแบบเดิม ให้สะดวก รวดเร็ว มากขึ้น

หุ่นยนต์บริการ (Service Robot) สามารถเคลื่อนที่ได้มากกว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบเดิม และสามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ดีกว่า

Read More »
Technology News

Photoelectric Sensors Lector62x | SICK

Photoelectric Sensors Lector62x | SICK Photoelectric Sensors Lector62x เครื่องอ่านบาร์โค้ดสำหรับการตรวจจับโค้ด 1D,

Read More »
Post Views: 1,535

กฎข้อบังคับน่ารู้ ปฏิบัติตัวอย่างไร? ให้ปลอดภัยจากการทำงานบนที่สูง

อุบัติเหตุจากการทำงานบนที่สูง สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ เนื่องจากการทำงานบนที่สูงมีความเสี่ยงและอันตรายจากการพลัดตกลงมาได้ ไม่ว่าจะเป็น การทำงานก่อสร้าง งานบนเสาไฟฟ้า งานเช็ดกระจกบนตึกสูง และงานวางระบบบนหลังคาของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ การทำงานบนที่สูงตามกฏกระทรวงปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ยังหมายถึง การทำงานบนพื้นที่ต่างระดับตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป และยังรวมถึงงานบนนั่งร้าน หรือโครงสร้างอาคารชั่วคราวที่สูงจากพื้นดิน ดังนั้นการปฏิบัติงานบนที่สูง ผู้ปฏิบัติงานและนายจ้างต้องปฏิบัติตามกฏข้อบังคับ พร้อมเรียนรู้หลักการทำงานบนที่สูงให้เข้าใจก่อนเริ่มปฏิบัติงานจริง เพื่อความปลอดภัยต่อตนเอง ผู้อื่น และทรัพทย์สิน

อัปเดตกฎกระทรวงการทำงานบนที่สูง พ.ศ. ๒๕๖๔

กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมของการทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง และที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้

“ทำงานในที่สูง” หมายความว่า การทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงานที่สูงจากพื้นดิน หรือจากพื้นอาคาร ตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป ซึ่งลูกจ้างอาจพลัดตกลงมาได้        

“นั่งร้าน” หมายความว่า โครงสร้างชั่วคราวที่สูงจากพื้นดินหรือจากพื้นอาคาร หรือส่วนของ สิ่งก่อสร้าง สำหรับเป็นที่รองรับ ลูกจ้าง วัสดุ หรือเครื่องมือและอุปกรณ์

“อาคาร” หมายความว่า อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

หมวด ๑ บททั่วไป

ข้อ ๒ นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย ในการทำงานในที่สูง ที่ลาดชัน ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่นหรือพังทลายของวัสดุสิ่งของ และที่อาจทำให้ ลูกจ้างพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย การระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน การวางแผนการปฏิบัติงาน และการป้องกันและควบคุมอันตราย รวมทั้งต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างได้รับทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ ๓ ในการประกอบ การติดตั้ง การตรวจสอบ และการใช้ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูง และที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็นตกหล่นหรือฟังทลาย และจากการตกลงไป ในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ให้นายจ้างปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ หากไม่มีรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานดังกล่าว นายจ้างต้องดำเนินการ ให้วิศวกรซึ่งได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานขึ้นเป็นหนังสือและต้องมีสำเนาเอกสาร ดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้   

ข้อ ๕ นายจ้างต้องจัดให้มีการบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายตามข้อ ๓ และอุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามข้อ ๔ ตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด และจัดให้มีการตรวจสอบ สภาพของอุปกรณ์ให้มีความปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้ง และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ ๖ ในกรณีที่นายจ้างต้องจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก ราวกั้นหรือรั้วกันตกต้องมีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร แต่ไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตร ซึ่งมีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ใช้แผงทึบแทนราวกั้นหรือรั้วกันตก แผงทึบต้องมีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร

ข้อ ๗ สำเนาเอกสารตามข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๕ จะอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

หมวด การป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน

ข้อ ๘ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูง นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้าน หรือดำเนินการด้วยวิธีการอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้าง โดยต้องมีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย

ข้อ ๙ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงตั้งแต่สี่เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดทำ ราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่ายนิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการใช้ เข็มขัดนิรภัย และ เชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต พร้อมอุปกรณ์ตลอดระยะเวลาการทำงาน

ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีปล่องหรือช่องเปิดต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างพลัดตก นายจ้าง ต้องจัดทำฝาปิดที่แข็งแรง ราวกั้น รั้วกันตกหรือแผงทึบตามข้อ ๖ พร้อมทั้งติดป้ายเตือนอันตราย ให้เห็นได้อย่างชัดเจน

ข้อ ๑๑ นายจ้างต้องมิให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงนอกอาคารหรือพื้นที่เปิดโล่ง ในขณะที่มีพายุ ลมแรง ฝนตกหรือฟ้าคะนอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย หรือบรรเทาเหตุอันตรายที่เกิดขึ้น โดยต้องจัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้าง

ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ลูกจ้างต้องใช้บันไดไต่ชนิดเคลื่อนย้ายได้เพื่อทำงานในที่สูง นายจ้าง ต้องดูแลการตั้งบันไดให้ระยะระหว่างฐานบันได ถึงผนังที่วางพาดบันไดกับความยาวของช่วงบันได นับจากฐานถึงจุดพาดมีอัตราส่วนหนึ่งต่อสี่ หรือมีมุมบันไดที่ตรงข้ามผนังเจ็ดสิบห้าองศา

บันไดไต่ ตามวรรคหนึ่งจะต้องมีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรง และปลอดภัยต่อการใช้งาน มีความกว้างของบันไดไม่น้อยกว่าสามสิบเซนติเมตร ทั้งนี้ บันไดไต่ต้องมีขาบันไดหรือสิ่งยึดโยง ที่สามารถป้องกันการลื่นไถลของบันไดได้

ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ลูกจ้างต้องใช้บันไดไต่ชนิดติดตรึงกับที่ที่มีความสูงเกินหกเมตรขึ้นไป เพื่อทำงานในที่สูง นายจ้างต้องดูแลบันไดไต่ชนิดติดตรึงกับที่ให้มีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรง และปลอดภัยต่อการใช้งานและต้องจัดทำโกร่งบันได เพื่อป้องกันการพลัดตกของลูกจ้าง

ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ลูกจ้างต้องใช้ขาหยั่งหรือม้ายืนเพื่อทำงานในที่สูง นายจ้างต้องดูแล ให้ขาหยั่งหรือม้ายืนนั้นมีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรงและปลอดภัยต่อการใช้งาน และมีพื้นที่สำหรับ ยืนทำงานอย่างเพียงพอ

ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีการทำงานบนที่ลาดชันที่ทำมุมเกินสิบห้าองศาแต่ไม่เกินสามสิบองศา จากแนวราบ และมีความสูงของพื้นระดับที่เอียงนั้น ตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้าน ที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน หรือเข็มขัดนิรภัย และเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต พร้อมอุปกรณ์หรือมาตรการป้องกันการพลัดตกอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน

ในกรณีที่มีการทำงานบนที่ลาดชันที่ทำมุมเกินกว่าสามสิบองศาจากแนวราบ และมีความสูง ของพื้นระดับที่เอียงนั้นตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพของ การทำงาน หรือมาตรการป้องกันการพลัดตกอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน และเข็มขัดนิรภัย และเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตพร้อมอุปกรณ์ 

หมวด ๓ การป้องกันอันตรายจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย

ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีการลำเลียงวัสดุสิ่งของขึ้นหรือลงจากที่สูง หรือลำเลียงวัสดุสิ่งของบนที่สูง นายจ้างต้องจัด ให้มีราง ปล่อง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมในการลำเลียง เพื่อป้องกัน อันตรายจากวัสดุสิ่งของกระเด็นหรือตกหล่น

ข้อ ๑๗ นายจ้างต้องกำหนดเขตอันตรายในบริเวณพื้นที่ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของและติดป้ายเตือนอันตรายบริเวณพื้นที่ดังกล่าว พร้อมทั้งจัดให้มี มาตรการควบคุมดูแลเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจนกว่างานจะแล้วเสร็จ

ข้อ ๑๘ ในกรณีที่มีวัสดุสิ่งของอยู่บนที่สูงที่อาจกระเด็น ตกหล่น หรือฟังทลายลงมาได้ นายจ้างต้องจัดทำขอบกันของตกหรือมาตรการป้องกันอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน

ข้อ ๑๙ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานบริเวณใกล้เคียงหรือทำงานในสถานที่ที่อาจมี การกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของนายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมดูแลเพื่อให้เกิด ความปลอดภัยแก่ลูกจ้างตลอดระยะเวลาการทำงาน

ข้อ ๒๐ ในบริเวณที่เก็บหรือกองวัสดุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายจากการตกหล่น หรือ พังทลายของวัสดุสิ่งของดังกล่าวให้นายจ้างจัดเรียงวัสดุสิ่งของให้เกิดความมั่นคงปลอดภัย ทำผนังกั้น หรือใช้วิธีการอื่นใด เพื่อป้องกันอันตรายจากการตกหล่นหรือพังทลายของวัสดุสิ่งของนั้น

ในกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตราย จากการตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของที่จะทำการเคลื่อนย้ายนั้นด้วย

หมวด ๔ การป้องกันอันตรายจากการตกลงไปในภาชนะเก็บ หรือรองรับวัสดุ

ข้อ ๒๒ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในบริเวณหรือสถานที่ใด หรือลักษณะของการทำงานอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตราย จากการพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ เช่น ถัง บ่อ กรวย ภาชนะหรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันที่ลูกจ้างอาจพลัดตกลงไปได้นายจ้างต้องจัดให้มีสิ่งปิดกั้น ที่มั่นคงแข็งแรง จัดทำราวกันหรือรั้วกันตกที่มั่นคงแข็งแรงล้อมรอบภาชนะนั้น เพื่อป้องกันการพลัดตกลงไปของลูกจ้าง

ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้าง สวมใส่เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย หรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงาน

ข้อ ๒๓ นายจ้างต้องมิให้ลูกจ้างทำงานบนภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ เช่น ถัง บ่อ กรวย ภาชนะหรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันที่ลูกจ้างอาจพลัดตกลงไปได้ เว้นแต่นายจ้างได้จัดให้มีสิ่งปิดกั้น จัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก หรือสิ่งป้องกันอื่นใดที่มั่นคงแข็งแรงเหมาะสมกับสภาพของการทำงาน หรือจัดให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงาน หากนายจ้าง ให้ลูกจ้างทำงานในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ต้องให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและ เชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงานด้วย

ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานบนภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุที่มีความสูงตั้งแต่สี่เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มี สิ่งปิดกั้นจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก หรือสิ่งป้องกันอื่นใดที่มั่นคง แข็งแรงเหมาะสมกับสภาพของการทำงาน และต้องให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย หรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงานด้วย

กฏระเบียบน่ารู้ของการทำงานบนที่สูง

  • ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการฝึกอบรมการทำงานบนที่สูงก่อนเริ่มปฏิบัติงานจริง
  • ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่เครื่องแต่งกายให้รัดกุม เรียบร้อย ถูกต้อง ตามมาตรฐานการทำงานบนที่สูง
  • ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ขณะทำงานอยู่ตลอดเวลา อาทิ เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว (Full body harness), รอกนิรภัย, สายช่วยชีวิต (Lanyard, SRL), หมวกนิรภัย และรองเท้านิรภัย เป็นต้น
  • เลือกจุดยึดที่แข็งแรงและสามารถรองรับแรงกระแทก เมื่อเกิดอุบัติเหตุได้
  • เตรียมแผนการช่วยเหลือ และอุปกรณ์ช่วยเหลือเอาไว้ พร้อมตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์นำมาใช้งานทุกครั้ง
  • ห้ามโยนสิ่งของ หรือเครื่องมือให้กับผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานอยู่บนที่สูง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งของที่อาจจะตกกระแทกโดนผู้อื่นได้
  • ห้ามทำงานบนที่สูงเพียงคนเดียว ต้องมีการปฏิบัติงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป
  • หากต้องปฏิบัติงานบนหลังคากระเบื้อง ห้ามเหยียบหรือเดินบนแผ่นกระเบื้องโดยตรง
  • การตัด หรือการเชื่อมบนที่สูง ต้องมีการตรวจสอบและเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงและสารไวไฟทุกชนิดก่อนนำมาใช้งานบนที่สูง รวมถึงขณะปฎิบัติงานก็ต้องทำอย่างระมัดระวังด้วยเช่นกัน

ดูรายละเอียดสินค้าหมวด เซฟตี้บุคคล (Safety System) เพิ่มเติม >> https://planet.co.th/safety-system/

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: บริษัท แพลนเนท ที แอนด์ เอส จำกัด ตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์ เซฟตี้บุคคล ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล พร้อมยินดีให้คำปรึกษา/แนะนำก่อนการซื้อ และบริการดูแลหลังการขายจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

Call Center: 02-720-3288

Line: @planettands

E-mail: info@planet.co.th

Facebook: https://www.facebook.com/planettands

อ้างอิงข้อมูลจาก: สสปท. (กระทรวงแรงงาน)

Our Technology News

Technology News

Relay Module D-SERIES อุปกรณ์เปิด-ปิด ภายในวงจรควบคุมอัตโนมัติ | Weidmüller

Relay Module D-SERIES แบรนด์ Weidmüller สามารถช่วยทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในวงจรควบคุมอัตโนมัติทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการต่อ Contacts (หน้าสัมผัส) แบบ

อ่านต่อ »
Technology News

Photoelectric sensors G10 ตรวจจับแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน | SICK

Photoelectric sensors G10 จาก SICK เครื่องเซนเซอร์ที่ใช้ลำแสงในการตรวจจับวัตถุ โดยที่ไม่ต้องมีการสัมผัส ตรวจจับได้อย่างแม่นยำ ติดตั้งง่าย พร้อมลดข้อผิดพลาดจากกระบวนการทำงาน

อ่านต่อ »
Technology News

DataMan 470 Series เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบติดตั้ง | Cognex

DataMan 470 Series เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบติดตั้ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านการผลิตและด้านโลจิสติกส์ที่มีความเร็วสูงและมีความซับซ้อนให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

อ่านต่อ »
Post Views: 2,540